งานก่อสร้างไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการก่อสร้างอาคารใหม่ หรือการซ่อมแซมเพื่อต่อเติมส่วนต่าง ๆ จากโครงสร้างเดิม การเจาะปูนหรือคอนกรีตเป็นหนึ่งในขั้นตอนที่ขาดไม่ได้โดยเด็ดขาด การเจาะเหล่านี้มีหลากหลายวิธี ขึ้นอยู่แต่กับผู้รับเหมาหรือวิศวกรจะตัดสินใจเลือก แต่หนึ่งในเทคนิค และยังเป็นวิธีการเจาะที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากเลยคือ การใช้ “เครื่องคอริ่ง” ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีการเจาะที่เป็นมิตรกับโครงสร้าง และสร้างช่องว่างหรือรูบนพื้นผิวคอนกรีต หรือปูนซีเมนต์ได้อย่างแนบเนียน หรือที่กันเรียกกันว่า “การเจาะคอริ่ง”
ในบทความนี้เราจะพาคุณไปทำความรู้จักกันว่าเจ้าเครื่องนี้คืออะไร มีลักษณะการทำงานอย่างไร มีข้อดี / ข้อเสียอย่างไร รวมไปถึงรูปแบบการใช้งานต่าง ๆ ที่พบเห็นได้ หากคุณเป็นผู้รับเหมา, วิศวกร ช่างก่อสร้าง หรือผู้ที่ต้องการทำความรู้ด้านงานก่อสร้าง การรู้จักและเข้าใจจะเป็นส่วนช่วยสำคัญเลยทีเดียว
เครื่องคอริ่ง คืออะไร?
เครื่องคอริ่ง คือ เครื่องมือที่ถูกออกแบบมาสำหรับงานเจาะรูบนพื้นผิวในหลากหลายวิศวกรรม ไม่ว่าจะเป็นสถาปัตยกรรม, งานก่อสร้าง หรือแม้แต่ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ต่าง ๆ โดยส่วนมากมักจะเรียกกันว่า “เจาะคอริ่ง” ลักษณะของตัวเครื่องมักจะเป็นรูปทรงกระบอก โดยมีหัวเจาะที่ทำมาจากเหล็กหรือโลหะที่มีความทนทานสูง ทำหน้าที่ในการเจาะลึกลงไปในวัสดุโดยใช้ดอกหัวสว่านรูปทรงกระบอก
นอกจากหน้าที่หลักในการเจาะรูบนพื้นผิวต่าง ๆ แล้ว ตัวเครื่องยังมีความสามารถในการสกัดวัสดุเพื่อนำมาวิเคราะห์หรือทดสอบคุณภาพได้อีกด้วย เช่น การเจาะเพื่อนำแกนตัวอย่างคอนกรีต หรือปูนมาตรวจสอบได้อีกด้วย ด้วยความที่มีส่วนประกอบหลักอย่างมอเตอร์และแกนเหล็ก / โลหะที่มีความทนทาน ที่ให้กำลังการเจาะ และที่จับสำหรับควบคุมทิศทางและแรงเจาะ จึงทำให้ตัวเครื่องคอริ่งได้รับความนิยมอย่างมาก ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง หรืออุตสาหกรรมเหมืองแร่
เครื่องคอริ่งมีลักษณะทำงานอย่างไร ?
การทำงานของเครื่องคอริ่งใช้หลักการของการเจาะแบบแกนซึ่งเป็นการเจาะที่ให้ผลลัพธ์เป็นรูที่มีความลึกและเที่ยงตรง โดยอาศัยหัวเจาะเป็นเหล็กชุบเพชรอุตสาหกรรม เพื่อความทนทานและสามารถเจาะผ่านวัสดุแข็ง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กระเบื้อง, หินปูน, หินอัคนี, หินแกรนิต, ไฟเบอร์กลาส, คอนกรีตทั่วไป หรือแม้กระทั่งน้ำแข็ง
โดยตัวหัวเจาะนี้จะติดตั้งกับเพลาของเครื่องเจาะ และระหว่างเจาะตัวเครื่องจะถูกยึดแน่นกับโครงสร้างหรือพื้นผิวที่ต้องการเจาะ เพื่อป้องกันการเคลื่อนที่หรือการสั่นสะเทือนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเจาะ การเจาะรูปแบบนี้จะไม่คายเศษวัสดุออกมามากเหมือนกับการใช้สว่านแบบทั่วไป แต่จะทิ้งแกนวัสดุค้างอยู่ในดอกสว่านแทน ซึ่งสามารถถอดออกมาได้หลังจากทำการเจาะเสร็จสิ้น เพื่อทำให้รูที่เจาะออกมาเป็นรูกลวงได้ตามที่ต้องการ
รูปแบบการใช้งานต่าง ๆ ของเครื่องคอริ่ง
การใช้งานของเครื่องคอริ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นหลัก ๆ อยู่ 2 รูปแบบคือ ซอฟคอริ่ง และ ฮาร์ดคอริ่ง ซึ่งแต่ละรูปแบบมีลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันไป ตามลักษณะของวัสดุในเครื่องมือ และความต้องการในงานต่าง ๆ
1. ซอฟคอริ่ง (Soft Coring)
ซอฟคอริ่งเป็นการเจาะที่ใช้กับวัสดุหรือโครงสร้างที่มีความแข็งน้อย เช่น ปูนสำเร็จรูปที่ยังไม่แข็งตัวเต็มที่ หรือปูนที่มีความหนาแน่นน้อย โดยมีความลึกในการเจาะไม่เกิน 500 ฟุต วิธีนี้มีข้อดีที่ชัดเจนเลยคือ การลดความเสียหายของวัสดุโดยรอบ และสามารถใช้เจาะในพื้นที่ที่ต้องการได้อย่างตรงจุด โดยส่วนมากแล้วซอฟคอริ่งมักจะใช้งานต่าง ๆ ดังนี้
- การตรวจสอบคุณภาพคอนกรีต : ด้วยการเจาะแล้วนำตัววัสดุออกมาตรวจสอบความหนาแน่น หรือหาปริมาณอากาศในคอนกรีต
- การเจาะช่องว่างเพื่อการซ่อมแซม : ใช้ในการเจาะเพื่อถอดวัสดุเก่าออกจากโครงสร้างเดิม ก่อนทำการซ่อมแซมภายใน หรือต่อเติมวัสดุเข้าไปในโครงสร้าง
- การติดตั้งระบบท่อหรือสายไฟ : อาศัยการใช้หัวเจาะขนาดเล็กเพื่อวางท่อหรือสายไฟในคอนกรีต หรือวัสดุที่มีความหนาแน่นน้อย
2. ฮาร์ดคอริ่ง (Hard Coring)
ฮาร์ดคอริ่งเป็นการเจาะที่ใช้กับวัสดุหรือโครงสร้างที่มีความแข็งมาก ตัวอย่างเช่น คอนกรีตที่แข็งตัวเต็มที่ หรือแร่ต่าง ๆ ที่มีมวลหนาแน่นมาก การเจาะด้วยวิธีนี้สามารถใช้อากาศหรือของเหลวในการล้างวัสดุปนเปื้อนออกจากการเจาะได้โดยไม่ทำลายโครงสร้าง แต่ก็ยังเป็นต้องใช้ดอกสว่านที่เคลือบเพชรอุตสาหกรรมอย่างดีด้วยเช่นกัน สามารถเจาะลึกได้มากสุดที่ 5,000 ฟุตเลยทีเดียว โดยส่วนมากแล้วฮาร์ดคอริ่งมักจะใช้งานต่าง ๆ ดังนี้
- การเจาะเพื่อตรวจสอบโครงสร้าง : ไม่ว่าจะเป็นการเจาะในเหมืองแร่ต่าง ๆ เพื่อดึงนำวัสดุมาสำหรับการตรวจสอบว่าเป็นแร่หรือหินชนิดใด
- การเจาะสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ต่าง ๆ : ทั้งการเจาะพื้นที่หรือโครงสร้างที่มีความหนาแน่นสูง เพื่อวางรางน้ำ ท่อระบายน้ำ ฯลฯ
การเจาะคอริ่งนับเป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญกับโครงสร้างเป็นอย่างมาก เพราะช่วยรักษาโครงสร้างส่วนมากไม่ให้เกิดความเสียหาย เหมือนกับการใช้สว่านเจาะแบบทั่วไป แต่อย่างไรก็ดีการเจาะแบบคอริ่งนี้ไม่ได้แม่นยำแบบ 100% และยังกินพื้นผิวรอบ ๆ บริเวณที่เจาะไปถึง 3 นิ้ว รวมไปถึงระยะเวลาสำหรับการเจาะที่อาจใช้เวลานานกว่าการเจาะรูปแบบอื่น ๆ ด้วยหากผู้ปฏิบัติงานไม่มีได้มีความรู้และทักษะเฉพาะทาง ดังนั้นผู้ที่จะทำการเจาะคอริ่งจะต้องมีทักษะและความอดทนที่สูง เพื่อแลกมากับรูเจาะที่เรียบเนียน ที่สมบูรณ์แบบ
ข้อดี / ข้อเสียของเครื่องคอริ่ง
เครื่องคอริ่งเป็นทางเลือกที่ได้รับความนิยมสำหรับการเจาะในงานก่อสร้าง หรือซ่อมแซม เพื่อสร้างช่องว่างที่เหมาะสมในโครงสร้างหรือวัสดุต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นคอนกรีตหรือปูน เพื่อวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ก็ตาม ซึ่งโดยส่วนมากมักเรียกว่า “การเจาะคอริ่ง” การพิจารณาข้อดีและข้อเสียเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ที่สนใจใช้เทคนิคนี้สามารถตัดสินใจได้ดีขึ้นว่าเหมาะสมกับงานที่ต้องการดำเนินการหรือไม่ และวางแผนการใช้งานให้เหมาะสม
ข้อดี
ความแม่นยำในการเจาะสูง : ตัวเครื่องมีแกนหัวเจาะและตัวยึดโครงสร้างทำให้สามารถเจาะพื้นผิวที่ต้องการได้เป็นอย่างดี ช่วยสร้างช่องว่างหรือรูที่มีขนาดรูปทรงตามที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ
รักษาโครงสร้าง / วัสดุได้ดี : การเจาะคอริ่งจะไม่ทำให้เกิดความเสียหายกับโครงสร้างหรือวัสดุพื้นผิวได้มากนัก เมื่อเทียบกับรูปแบบการเจาะอื่น
เสียงและการสั่นสะเทือนต่ำ : เครื่องคอริ่งที่นำมาใช้ในการเจาะรู้จะมีเสียงรบกวนและการสั่นสะเทือนที่ต่ำกว่ามาก เมื่อเทียบกับการใช้เครื่องมืออื่น
ความสะอาดในการทำงาน : การเจาะคอริ่งสามารถควบคุมฝุ่น และเศษวัสดุไม่ให้ตกหล่น ทำให้สถานที่ทำงานรักษาความสะอาดขึ้นได้ดีขึ้น
ข้อเสีย
ต้นทุนเริ่มต้นสูง : เครื่องมือคอริ่งนับว่ามีราคาแพงเป็นอย่างมาก อาจจะต้องใช้ต้นทุนสูงกว่าเมื่อเทียบกับการเจาะแบบดั้งเดิม
ต้องการเทคนิคพิเศษ : เจ้าหน้าที่ประจำเครื่องต้องมีทักษะและได้รับการฝึกอบรมเฉพาะทาง เพื่อใช้งานเครื่องได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัย
การบำรุงรักษา : เมื่อมีการใช้งานเครื่องคอริ่งในการเจาะปูน / คอนกรีตต่าง ๆ จำเป็นต้องได้รับการบำรุงรักษาอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งอาจทำให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม
บทสรุปเครื่องคอริ่ง สำหรับการเจาะเพื่องานก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพ
เรียกได้ว่าเครื่องคอริ่งเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่สำคัญสำหรับงานก่อสร้าง งานซ่อมแซม หรือการเจาะคอริ่งที่ต้องการความแม่นยำสูงในการเจาะรูทั้งในด้านความลึกและตำแหน่งที่แน่นอน ด้วยหัวเจาะชุบเพชรอุตสาหกรรมที่มีความทนทานสูงทำให้เจาะได้ทุกโครงสร้างวัสดุ ไม่ว่าจะเป็นคอนกรีต, ปูน หรือกระเบื้องพอร์ชเลน พร้อมทั้งช่วยเพิ่มความปลอดภัยการเจาะในสถานที่ก่อสร้าง ลดเสียงรบกวนและแรงสั่นสะเทือนที่เกิด ช่วยให้งานก่อสร้าง หรืองานซ่อมแซมผ่านไปได้อย่างราบรื่น
เครื่องคอริ่งยังเป็นเครื่องมือที่เข้าถึงได้ยาก เนื่องจากมีมูลค่าสูงและไม่เหมาะสำหรับงานก่อสร้างแบบทั่วไปที่ใช้เพียงชั่วคราวหรือการเจาะในจำนวนไม่มาก ดังนั้นใครที่ต้องการใช้งานเครื่องคอริ่งเพื่อทำการเจาะคอริ่ง ปูน คอนกรีต หรือโครงสร้างบ้าน / อาคารต่าง ๆ ในราคาเอื้อมถึงได้ สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ KN progress ผู้เชี่ยวชาญในด้านวิศวกรรมสำหรับงานก่อสร้าง มีประสบการณ์มากกว่า 15 ปี ที่พร้อมให้บริการด้วยทีมงานวิศวกรที่ชำนาญ ไม่ว่าจะเป็นบริการ เจาะคอริ่ง เจาะเสียบเหล็ก ตัดพื้นคอนกรีต และสแกนคอนกรีต ได้แบบครบวงจรในที่เดียว